อ่านทริปกันนะ สิ่งที่ต้องการคือ
1.น้ำหนัก สิ่งของของแต่ละท่าน รวมทุกอย่างเลย ไม่ว่าจะเป็นเต้นท์
ถุงนอน อุปกรณ์ส่วนตัว เสื้อผ้า ขอน้ำหนักคร่าวๆค่ะ เนื่องจากต้องแจ้งจำนวนคนหาบ
2.เตรียม อุปกรณ์กันหนาวให้พร้อม ถุงมือ ถุงเืท้า ถุงนอน
3.รองเท้าสำหรับปีนเขา เนื่องจากทางชันมาก
4.เดินทางตอนเย็นวันที่ 30 ธ.ค

ใหญ่ทางชีวภาพที่หลากหลายที่สุดในเมืองไทย ที่นี่เป็นหนึ่งในหลาย ๆ ที่ ที่หลายแห่งไม่เคยมี จนได้ชื่อว่าเป็น 9 สิ่งมหัศจรรย์ ได้แก่
1. เชียงดาว เทือกเขาหินปูนที่สูงที่สุดของเมืองไทยและเป็นขุนดอยสูงอันดับ 3 ของเมืองไทย,
2. เชียงดาว แหล่งพันธ์ไม้ถึง 4 ประเภทรวมอยู่ในเขตเดียวกันคือป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณชื้น ป่าดิบเขา, และกึ่งอัลไพน์
3. สำหรับพืชกึ่งอัลไพน์แห่งเดียวในไทย คือพวกพุ่มไม้เตี้ย ๆ และไม้ล้มลุกเนื่องจากหน้าดินมีน้อย ไม่มีน้ำและอากาศเย็น เป็นพืชแบบแถบหิมาลัย แต่พัฒนาตนเองเป็นพืชเฉพาะถิ่น ,
4. เป็นแหล่งกำเนิด เอื้องศรีเชียงดาว หรือกล้วยไม้สิรินธรเนีย ซึ่งเป็นพืชสกุลใหม่ของโลก มีที่นี่ที่เดียว (แต่ดอกไม่ได้บานช่วงหนาวนะครับ) ,
5. พันธุ์ไม้เฉพาะถิ่นกว่า 200 ชนิด,
6. กวางผา - เลียงผา ถ้าเราเงียบ ๆ โชคอาจเป็นของเรา รวมทั้งไก่ฟ้าหางลายขวาง (พบไม่ยากเกินไปที่เด่นหญ้าขัด) สัตว์ป่าใกล้สูญพันธ์,
7. ผีเสื้อสมิงเชียงดาว(เชื่อว่าสูญพันธ์ไปแล้ว เอาว่าเคยมี และหวังว่าอาจจะมี ),
8. เจ้าหลวงคำแดง ตำนานเจ้าแห่งขุนเขาแห่งนี้ที่ชาวบ้านแถบเชียงดาวล้วนนับถือและศรัทธา
9. ที่นี่ถือเป็นดอยศักดิ์สิทธิ์แห่งล้านนา

- รู้ไว้ก่อนไปเชียงดาว -
"ดอยเชียงดาว" หรือ " ดอยหลวงเชียงดาว " ภูเขาสูงอันดับสามของประเทศไทยอันตะหง่านเทียมฟ้าเพียงดาว ที่แห่งนี้ไม่ได้เป็นเพียงสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติอันมีชื่อเสียงเท่า นั้น แต่ยังเป็นที่ยอมรับในอีกหลายด้านมาอย่างยาวนานถึงความทรงคุณค่า ไม่ว่าเป็นถิ่นของป่ากึ่งอัลไพน์ที่โดดเด่นเป็นพิเศษเพียงแห่งเดียวในประเทศ ไทย เป็นดินแดนของความหลากหลายทางธรรมชาติที่ได้รับความสนใจอย่างกว้างขวาง เป็นแหล่งก่อเกิดคุณูปการสูงค่าที่ให้คุณประโยชน์ต่อผู้คนและชุมชนโดยรอบ เป็นขุนเขาศักดิ์สิทธิ์ที่สืบความเชื่อและความนับถือมาแต่อดีตของชาวเชียง ดาวและชาวเมืองเหนือ เป็นพื้นที่ของการนันทนาการเชิงนิเวศน์และศึกษาธรรมชาติอย่างยอดเยี่ยม และที่สำคัญเป็นมรดกทางธรรมชาติอันสูงค่าและน่าภาคภูมิใจของชาวไทยทุกคน
" ดอยหลวงเชียงดาว " ได้รับการเห็นคุณค่าในฐานะเป็นแหล่งธรรมชาติที่สำคัญ จึงได้รับการจัดพื้นที่ให้อยู่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าตั้งแต่ปี พ.ศ. 2521 โดยมีเจตนารมย์ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าฉบับปัจจุบันปี พ.ศ. 2535 เพื่อสงวนรักษาธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและปกป้องคุ้มครองพรรณพืชและสัตว์ป่า ให้ดำรงไว้สำหรับประโยชน์ในเชิงอนุรักษ์และเชิงนิเวศน์ต่างๆนานานับประการ รวมทั้งให้เป็นมรดกทางธรรมชาติและเป็นสมบัติของประชาชนทุกคนร่วมกัน จึงเป็นความถูกต้องและเหมาะสมทุกประการ ที่ทางจังหวัดเชียงใหม่ได้ทำการศึกษาในด้านต่างๆเพื่อจะผลักดัน ให้ " ดอยหลวงเชียงดาว " เป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์อย่างยั่งยืนและเป็นถึงมรดกทางธรรมชาติของ โลก อันน่าภาคภูมิใจของประชาชนชาวไทยทั้งประเทศในอีกต่อไป ...
พรรณไม้ ของที่นี่เป็นพรรณไม้ที่แปลกจากที่พบทั่วไปในเมืองไทย มีพรรณไม้เพาะถิ่น พบได้ที่เดียว ต้นเล็ก ๆ แต่ทรงคุณค่าทางพฤกษศาสตร์จำนวนหลายชนิด ..

ดูเส้นทางการเดินได้ที่นี่คับ (ขอบคุณพี่โจมากครับ สำหรับข้อมูล)
การเตรียมตัว- เตรียมใจ
1. ลักษณะการเดินทาง -เดินป่า มีลูกหาบที่รับแบกสัมภาระส่วนกลางให้ ใครอยากเดินตัวปลิว เพิ่ม 600 บาท
2. เนื่องจากบนยอดภูไม่มีแหล่งน้ำนะจ๊ะ เพราะฉะนั้นเราก็จะไม่อาบน้ำเนอะ
อันนี้หลายคนชอบ ใช่เปล่า ??? อิ...อิ....
3. ออกกำลังสักหน่อยก่อนไป จะทำให้ร่างกายปรับตัวได้ดีขึ้น เที่ยวให้สนุกขึ้น เพราะทางขึ้นไม่หมูนะ แต่ก็ไม่ยาก
4. แม้เข้าหน้าหนาวแต่อาจมีฝนหลงมาเอาเสื้อกันฝนไปด้วย
5. รองเท้าหาที่ดอกยางหนา ๆ เหมาะต่อการเดินป่าหน่อยค่ะ รองเท้าดี มีชัยไปกว่าครึ่ง
6. บนภู อากาศหนาว + ลมหนาวด้วย ( ใครไม่มีคู่คลายหนาวเตรียมเสื้อไปด้วยนะ)
7. การก่อกองไฟ ละเอียดอ่อนมากที่นี่ เราจะใช้ไฟแกสแทบจะล้วน ๆ ไม่ก่อไฟ หรือก่อด้วยถ่านอัดที่แบกขึ้นไปเท่านั้นครับ ในส่วนของลูกหาบที่มีเครื่องนอนน้อย ทางเขตได้พัฒนาแนวทางต่าง ๆ และมีการจัดอบรมลูกหาบก่อนทุกปีก่อนการเปิดฤดูกาล นับว่ามีการพัฒนาไปในทางที่ดีแล้วอีกขั้น แต่ทั้งหลาย ขึ้นกับคุณ คือ นักท่องเที่ยวทุกท่านด้วย ที่จะเข้าใจ ให้ความร่วมมือ คือบางทีเราหนาวน่ะครับ เราก็อยากได้กองไฟโต ๆ แต่ที่นั่นไม่เหลืออะไรแล้ว ช่วยกันทำให้ฟื้นตัวดีกว่า(นะ)

เพื่อให้การท่องเที่ยวของเราไม่ทำร้ายธรรมชาติมากเกินไป เราขอร้องให้นักท่องเที่ยว ปฏิบัติตามคำแนะนำที่ดังนี้ ...
1. ศึกษาข้อมูลก่อนเดินทาง หากท่านชวนเพื่อนไป เพื่อนของท่าน อาจยังไม่ทราบ อาจยังมีแนวคิดว่าไปเที่ยวป่า ก็สามารถทำตนเหมือนเที่ยวเมืองได้ การแลกเปลี่ยนข้อมูล
ทำให้ท่านทราบสภาพพื้นที่ และเดินป่าได้สนุกขึ้น
2. แต่งกายเหมาะสม ควรใช้เสื้อแขนยาว (ในระหว่างเดินป่า) กางเกงขายาว รองเท้ามีดอกยางที่เกาะพื้นได้ดี เพื่อลดอันตรายจากการขีดข่วน ทิ่มตำ ของหนามและแมลงพิษ
พืชมีพิษ
3. ลดของเสียและขยะ ด้วยการลดการนำพลาสติค หรือ ภาชนะโฟม หรือ สิ่งไม่จำเป็นเข้าไป
4. ในการอาบน้ำที่ลำธาร เราจะไม่ใช้สารเคมี ไม่ใช้สบู่ ยาสระผม น้ำยาล้างจานล้างตรงลงไปในน้ำ ควรปฏิบัติตามคำแนะนำ บางลำธารเป็นต้นน้ำที่สะอาดมาก และ มีสัตว์เล็ก
ๆ อยู่ร่วมด้วยที่ท่านอาจมองไม่เห็น และ สิ่งมีชีวิตเหล่านั้นอาจตายได้จาก การอาบน้ำโดยใช้สารเคมี
5. ไม่ทิ้งขยะในป่า หรือในน้ำ ขยะที่เกิดจากสารเคมีสังเคราะห์เช่น พลาสติค เป็นวัสดุที่ควรนำออกมากำจัดนอกป่า
6. เมื่อขับถ่ายแล้ว ควรฝังกลบให้เรียบร้อย
7. ไม่ตัด สร้างทางใหม่ นอกเหนือจากเส้นทางที่กำหนดไว้แล้ว เพื่อลดผลกระทบของเข้าไปเที่ยวลง
8. ไม่ซื้อของป่า สัตว์ป่า ไม่เบียดเบียนชีวิตในป่า เพื่อความสนุกสนานหรือคึกคะนอง
9. ร่วมสนับสนุนท้องถิ่น ด้วยการอุดหนุนขนม อาหารของท้องถิ่น ที่ระลึก แม้มีแพคเกจจิ้งไม่สวยเท่าร้านหรูในเมืองก็ตาม
เพื่อกระจายรายได้สู่ชุมชนที่เราไปเยือนโดยตรง
********************************
ขอขอบคุณข้อมูลจาก www.trekkingthai.com ภาพทั้งหมดในบทความนี้
เจตนาไม่ลบลายน้ำออกนะครับ เป็นผลงานของเจ้าของภาพตามลายเซ็น ขอบคุณมากครับ **
ใกล้แล้ว......ยังไม่ได้ไปวิ่งเลยยยย......จะไหวมั้ยเนี๊ยะ
ตอบลบ