twitter
    Find out what I'm doing, Follow Me :)

วันจันทร์ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2553

สิ่งที่ทุกคนควรเตรียมให้พร้อมก่อนน้ำท่วม



ตอนนี้หันไปทางเจอแต่ข่าวน้ำท่วมมากขึ้นเรื่อย มันกลายมาเป็นเรื่องใกล้ตัวเรามากขึ้นทุกที  บางคนอาจจะประสบปัญหาโดยตรง บางคนก็มีญาติ พ่อแม่ พี่น้องที่ประสบอยู่ จากข่าวสารที่ได้รับ ทำให้รู้ว่าเราหรือใครก็อาจเผชิญเหตุการณ์ได้ทุกเมื่อ สิ่งที่ดีที่สุดตอนนี้คือการเตรียมตัวให้พร้อมเมื่อเหตุการมาถึง...


สิ่งที่ทุกคนควรเตรียมให้พร้อมก่อนน้ำท่วม

1.ต้องตระหนักว่า น้ำท่วมจะทำความเสียหายแก่ชีวิตและทรัพย์สินได้มากมาย และผู้ที่อาศัย
อยู่ในที่ที่มีความเสี่ยงสูง ต้องเตรียมตัวให้พร้อมเสมอ

2.วางแผนในครอบครัวให้ทุกคนมีความรู้และหน้าที่ต่างๆ
•แผนดูเด็ก ผู้สูงอายุ หรือผู้พิการ (หากมี)

•แผนการอพยพหนีภัย หากต้องละทิ้งบ้านเรือนหรือที่ทำงาน รู้ที่ๆ จะไปอาศัย เช่น
บ้านญาติ เพื่อนสนิท สถานที่ราชการ หรือที่สูงๆ ที่ปลอดภัย รู้เส้นทางที่ปลอดภัยที่จะเดินทางไปที่นั้นๆ ให้มากกว่า 1 เส้นทาง พร้อมทั้งกำหนดจุดนัดพบ หรือบุคคลที่จะติดต่อข่าว ในกรณีที่อาจพลัดพรากกันระหว่างหนีภัย หรืออยู่กันคนละแห่ง เพื่อสำรวจว่าไม่มีใครสูญหายไป

•ขณะน้ำท่วมอาจเกิดไฟไหม้ได้ด้วย ต้องรู้ทางหนีออกจากบ้านหรือที่ทำงานให้มาก
กว่า 1 ทาง บ้านที่มุงกระเบื้อง หน้าต่างเหล็กดัด ควรมีบางช่องที่มีบานพับเปิดได้เป็นทางออกฉุกเฉิน แม้แต่บางบ้านซึ่งอาจต้องหนีออกทางหลังคา จะต้องมีช่องที่จะขึ้นไปรื้อหลังคาออกได้

•แผนป้องกันไฟฟ้าดูด ควรมีความรุ้เรื่องไฟฟ้า รู้ตำแหน่งสะพานไฟฟ้า สำหรับตัด
ไฟเมื่อน้ำจะท่วมปลั๊กไฟ และไม่ควรลงไปในน้ำ ในที่สงสัยว่าอาจมีไฟฟ้ารั่วอยู่ในน้ำ

•แผนป้องกันขโมย

•แผนช่วยเหลือกันและกันกับเพื่อนบ้าน

3.อาหารที่จำเป็นระหว่างน้ำท่วม ได้แก่



•อาหารสำเร็จหรือกึ่งสำเร็จรูป ที่ไม่ต้องการการหุงการปรุงมาก และอาหารที่ไม่
ต้องแช่เย็น อาหารกระป๋องควรเตรียมที่เปิดด้วยมือไว้ด้วย

•เครื่องดื่มสำเร็จรูป

•อุปกรณ์การปรุงอาหาร เช่น หม้อ กระทะ ถ้วยชามเท่าที่จำเป็น เตาแก๊สที่พอใช้ได้
ประมาณ 5-7 วัน มีดทำครัว ไม้ขีดไฟ หรือไฟสำหรับจุดบุหรี่ แก้วน้ำ กระติกน้ำร้อน

•ในกรณีที่มีอาหารสดเหลืออยู่ ควรรีบทำให้สุก เพื่อเก็บได้นานขึ้นและใช้กินก่อน

•กระดาษชำระหรือกระดาษหนังสือพิมพ์ สำหรับเช็ดถ้วยชามก่อนล้าง

•ถุงพลาสติกสำหรับใส่เศษอาหารและของอื่นๆ และยางรัดหรือเชือกสำหรับผูก
ปากถุง

4.น้ำ ทั้งน้ำดื่มและน้ำใช้ เตรียมภาชนะใส่ไว้ให้พอใช้อย่างประหยัดได้สัก 5-7 วัน และต้อง
ใช้ด้วยความประหยัดที่สุดทุกครั้ง

5.เครื่องนุ่งห่ม เครื่องแต่งตัวที่จำเป็น

•เสื้อผ้า ในกรณีต้องละบ้านเรือน

•เครื่องกันหนาวกันฝน

•รองเท้าแตะที่มีสายรัดส้น ป้องกันอุบัติเหตุบาดแผลจากเศษกระเบื้อง กระจก
โลหะหรือของมีคมอื่นๆ ที่จมอยู่ในน้ำ


6.ชุดปฐมพยาบาลและสุขอนามัย ชุดทำแผล ยาแก้ปวด แก้ไข้ แก้หวัด ท้องเดิน ภูมิแพ้
และยาสำหรับผู้ที่มีโรคประจำตัว จำนวนให้พอเพียงสำหรับเวลา 5-7 วัน กระดาษชำระ ผ้าอนามัย สบู่ ผงซักฟอก

7.ห้องน้ำที่จะใช้ขณะน้ำท่วม เช่น ห้องน้ำบนชั้นบนของบ้านเพราะห้องน้ำชั้นล่างจะใช้ไม่ได้
และควรป้องกันการไหลย้อนกลับออกมาทางห้องส้วมชั้นล่างด้วยการอุดโถส้วมชั้น ล้างงด้วยผ้าผืนโตพอที่จะไม่หลุดลงไปในท่อและทับไว้ด้วยของหนักๆ ส่วนท่อที่ต่อไปยังถังบำบัด (ในต่างประเทศเขายังติดตั้งลิ้นปิด-เปิดอัตโนมัติป้องกันน้ำเสียไหลย้อนกลับ อีกด้วย

ในกรณีที่จะไม่มีห้องส้วมใช้ อาจกำหนดมุมใดมุมหนึ่ง ที่มิดชิดในบ้าน เตรียมถุงพลาสติกขนาดพอเหมาะสำหรับถ่าย เตรียมยางรัดเชือกสำหรับผูกปากถุงให้แน่นสนิท (ไม่ใช้วิธีผูกหูหิ้วถุงเข้าหากัน เพราะจะมีช่องรั่วออกได้) และถุงเก็บขยะพลาสติกสำหรับใส่รวมไว้ก่อนด้วย ห้ามโยนทิ้งไปตามน้ำ เพราะจะไปเป็นขยะติดเชื้อแก่ผู้อื่นและสิ่งแวดล้อม

8.อุปกรณ์จำเป็นอื่นๆ
•ไฟฉายพร้อมถ่านไฟฉายใหม่ๆ สำรองให้พอเพียง เพราะขณะน้ำท่วมไฟฟ้าจะดับ
ด้วย

•ไฟสำรองฉุกเฉินเมื่อไฟฟ้าดับ



•วิทยุกระเป๋าหิ้วพร้อมถ่านใหม่ๆ สำรองเพื่อฟังข่าวน้ำท่วม การพยากรณ์อากาศ
และการให้การช่วยเหลือ

•โทรศัพท์มือถือ (ถ้ามี) เพื่อการติดต่อแจ้งข่าว หรือขอความช่วยเหลือ

•หมายเลขโทรศัพท์ที่จำเป็น เช่น จังหวัด อำเภอ เทศบาล หน่วยดับเพลิง โรง-
พยาบาล สถานีตำรวจ หน่วยงานอุตุนิยม ศูนย์เรด้าร์ตรวจอากาศ ญาติ เพื่อน และประชาชนผู้ที่เป็นเครือข่ายเตือนภัย

•เครื่องมือช่างที่จำเป็น เช่น ค้อน ตะปู คีมด้ามยาง ไขควงที่ทดสอบไฟฟ้าได้ด้วย
เลื่อยไม้ เลื่อยเหล็ก ซึ่งปกติก็เป็นเครื่องมือประจำบ้านอยู่แล้ว

•ไม้กวาด ไม้ถูพื้น ถังน้ำ แปรงและที่ขัดทำความสะอาดพื้นและฝาผนัง สำหรับ
เวลาน้ำกำลังลด

•เครื่องดับเพลิงประจำบ้าน

•ถุงทรายพร้อมทราย เพื่อทำทำนบกั้นประตู หรือเขื่อนกั้นน้ำ ในกรณีที่น้ำท่วมไม่
สูงนัก (เมื่อใช้แล้วควรเททรายออกจากถุง เก็บทรายและถุงไว้สำหรับใช้คราวหน้าได้ ไม่ควรเททราบทิ้งหรือเทลงแม่น้ำ ลำคลอง หรือคูน้ำ)

•บ้านในชนบท, ชานเมือง, หรือวัด ที่น้ำท่วมสูง อาจจำเป็นต้องมีเรือด้วย


•เชือกเส้นโตพอประมาณ และยาวพอที่ขึงโยงกับบ้านข้างเคียงหรือตรงข้าม ทบต่อ
กันเป็นวงเพื่อทำเป็นรอกส่งของช่วยเหลือกันได้ หรืออาจขึงเลาะไปตามประตูหน้าบ้านสำหรับผู้ที่จำเป็นต้องเดินไปตามข้างถนน ได้เกาะ เสื้อชูชีพ ในรายที่คิดว่าจำเป็น (อาจใช้ถังพลาสติกปิดฝาผูกติดกัน หรือยางในรถยนต์เก่าๆ สูบลมก็ได้)

9.สร้างของใช้ในบ้านให้เหมาะกับบ้านที่น้ำจะท่วมได้

•เฟอร์นิเจอร์ ฝาบ้าน ที่ทำด้วยไม้อัดจะเสียหายง่าย

•ของหนักๆ ชิ้นโตๆ ขนย้ายยาก

•แผ่นยิบซั่มทำฝาผนัง กระดาษปิดฝาผนัง เสียหายง่าย

•ของมีค่า เอกสารสำคัญ ตู้นิรภัย ควรอยู่ในที่สูงหรือชั้นบนสำหรับบ้านหลายชั้น
10. เงินสด เพื่อใช้จ่ายในขณะที่น้ำท่วมไม่สามารถไปเบิกจากธนาคาร หรือจากเครื่องเอทีเอ็ม
(ATM) ได้





11.รถยนต์ รถจักรยานยนต์ ราคาแพงและค่าซ่อมแพง ควรกำหนดที่ๆ จะนำไปจอดหนีน้ำได้
อย่างปลอดภัยไว้ล่วงหน้า เมื่อได้รับการเตือนภัยควรเติมน้ำมันรถให้เต็ม เพราะปั๊มน้ำมันอาจเปิดบริการไม่ได้ทันทีหลังน้ำลด หรือน้ำมันอาจหมดพอดีขณะหนีน้ำ ควรรีบนำรถไปเก็บในที่ปลอดภัยแต่เนิ่นๆ หากน้ำกำลังท่วมถนนและน้ำไหลเชี่ยวต้องระมัดระวังมากๆ เพราะพื้นถนนหรือคอสะพานอาจขาด หรือเป็นหลุมเป็นบ่อที่เรามองไม่เห็น หากน้ำท่วมสูงถึงเครื่องยนต์ หรือเครื่องยนต์สำลักน้ำแล้วไม่ควรขับฝ่าไป หรือหากข้างหน้าน้ำท่วมสูงหรือไหลเชี่ยวมาก ไม่ควรขับฝ่าไป เพราะน้ำอาจพัดพารถไปได้ ควรรีบหันกลับไปทางอื่นและควรวางแผนหาเส้นทางสำรองที่ปลอดภัยอื่นไว้ล่วง หน้าด้วย
12.ครอบครัวในชนบทที่เลี้ยงปศุสัตว์ ต้องวางแผนการโยกย้ายสัตว์ไปไว้ยังที่ปลอดภัย โดย
เส้นทางที่ปลอดภัยพร้อมทั้งอาหารสำรองด้วย
13.ผู้ที่สนใจประกันภัยน้ำท่วมหรือประกันอื่นๆ ควรติดต่อสอบถามรายละเอียดจากบริษัทประ
กันภัยให้ชัดเจน และต้องเข้าใจข้อความในสัญญาต่างๆ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาต่างๆ ในการประกัน

1 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ30 ตุลาคม 2553 เวลา 11:09

    ขอบคุนมากค่ะ อุบล กำลังจะท่วมแล้ว

    ตอบลบ